ระบบ POS คืออะไร จำเป็นจริงไหม ?

ลองคิดถึงเวลาไปทานฟาสต์ฟู้ด หรือคาเฟ่เจ้าประจำ ที่พนักงานจะรับออเดอร์ผ่านเจ้าจอคอม หรือแท็บเล็ตที่ตั้งบนเคาน์เตอร์ ไม่ว่าจะสั่งเมนูหลากหลายแค่ไหน พนักงานเพียงแค่กด ๆ จิ้ม ๆ จากนั้นก็ทำการจ่ายเงินแล้วรับใบเสร็จ สักพักอาหารก็มาเสิร์ฟแบบไม่มีผิดเพี้ยน

เจ้าเครื่องมือที่ตั้งตระหง่านอยู่บนเคาน์เตอร์นี้ ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ที่จะมาพร้อมระบบซอฟต์แวร์ รู้จักกันในนามของ Point of Sale System หรือระบบ POS ที่เสมือนว่าเป็นผู้ช่วยให้ร้านค้าสามารถจัดการทั้งในหน้าร้าน และระบบหลังร้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งหากชี้เฉพาะว่า POS ครอบคลุมส่วนไหนบ้าง คำตอบคือครอบคลุมทั้งในส่วนอุปกรณ์อย่าง คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต เครื่องสแกนบาร์โค้ด เครื่องพิมพ์ และในส่วนของระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้การรันโพรเซสต่าง ๆ ซึ่งร้านค้าอาจจะเลือกใช้บริการแบบ All in One คือซื้ออุปกรณ์ทั้งหมดพร้อมระบบซอฟต์แวร์ หรือหากมีอุปกรณ์ของตัวเองอยู่แล้ว ก็ใช้บริการเฉพาะซอฟต์แวร์ก็ย่อมได้

และถ้าหากคุณกำลังคิดว่าเจ้า POS จะมาช่วยให้พนักงานจัดการออเดอร์ ส่งคำสั่งไปที่ครัว หรือใช้ในการคิดเงินให้กับลูกค้า อาจจะถูกเพียงส่วนหนึ่ง แท้จริงแล้ว POS นั้นมีความสามารถหลากหลาย เรียกได้ว่าครบจบทุกสกิลทั้งระบบหน้าบ้าน และหลังบ้าน ช่วยให้ร้านค้าสะดวกสบาย ง่ายแบบ All in One !

ระบบ POS ทำอะไรได้บ้าง ?

แท้จริงแล้ว ระบบ POS ประกอบด้วยฟีเจอร์ และฟังก์ชันต่าง ๆ มากมาย ซึ่งจะแตกต่างไปตามแบรนด์ และยี่ห้อ ครอบคลุมทั้งในส่วนการจัดการพนักงาน การขาย และในส่วนของการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งฟีเจอร์ทั้งหลายจะช่วยจัดการให้ร้านค้า และธุรกิจลื่นไหลอย่างไม่มีสะดุด ไม่ว่าจะเป็น

1. ฟีเจอร์การกำหนดสิทธิการเข้าถึงของพนักงาน
ช่วยให้การจัดการพนักงานเป็นเรื่องง่าย ทั้งในเรื่องของการจัดการเวลาเข้างาน และการกำหนดสิทธิเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่นข้อมูลในส่วนรายรับรายจ่าย ที่ให้สิทธิแค่พนักงานบัญชี และผู้จัดการร้านเข้าถึงในส่วนนี้ได้เท่านั้น หรือข้อมูลวิธีการครีเอตเมนู ที่อาจจะเปิดให้พนักงานในครัวเข้าถึงได้เป็นต้น

และที่สำคัญระบบ POS สามารถตั้งค่าได้ แถมยังมีระบบบันทึก หรือเรียกดูในแต่ละ Action ว่ากระทำโดยพนักงานท่านใดบ้าง

2. ฟีเจอร์แสดงข้อมูลการขายแบบ Real-Time
ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลการขายได้แบบวินาทีต่อวินาที ครอบคลุมทุกอุปกรณ์ทั้งสมาร์ตโฟน แท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์ ช่วยธุรกิจสรุปยอดขายในแต่ละวัน และยอดสินค้าขายดีได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ ภายใต้ Dashboard ที่อ่านค่าง่าย แสดงผลได้อย่างชัดเจน

3. ฟังก์ชันแยกบิลครัวร้อน-ครัวเย็น
ร้านอาหาร หรือคาเฟ่หลาย ๆ แห่งอาจมีการแยกครัวร้อน และครัวเย็น ซึ่งการรวมบิลเดียวอาจจะสร้างความสับสน เกิดความล่าช้า หรือตกหล่นได้ ซึ่งการนำระบบ POS ที่มีฟังก์ชันแยกครัวร้อน หรือครัวเย็นเข้ามาช่วยในส่วนนี้จึงอาจช่วยการรับส่งออเดอร์แม่นยำมากขึ้น ช่วยให้เกิดประสานงานภายในครัว แยกกันอย่างเป็นระบบชัดเจน

4. ฟังก์ชันช่วยตัดสต็อกอย่างมืออาชีพ
ช่วยในการบริหาร และจัดการสินค้าในสต็อก แจ้งเตือนวัตถุดิบที่ใกล้หมด หรือวัตถุดิบที่ควรสต็อกไว้เพิ่มเติม ช่วยให้ส่งมอบสินค้าได้ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า ลดปัญหาขาดแคลนสินค้าเวลาลูกค้าออเดอร์ หรือปัญหาสินค้าเหลือคงคลังนานเกินไป

5. ฟังก์ชันออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม หรือแบบย่อ ถูกต้องตามหลักสรรพากร
ลูกค้าหลายท่านที่ต้องการใบกำกับภาษี ระบบ POS สามารถประมวลผลข้อมูล และพิมพ์ออกมาได้อย่างสะดวก ง่ายดาย ไม่เสียเวลากรอกแบบฟอร์ม ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และความผิดพลาดในการออกใบกำกับภาษีได้ ทางลูกค้าเองสามารถรับใบกับภาษีได้ทั้งแบบเต็ม และแบบย่อ ถูกต้องตามหลักสรรพากร

6. ช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า ในส่วนของ CRM
ระบบ POS สามารถเก็บข้อมูลในส่วน Transaction ได้ ซึ่งเป็นข้อมูลรายละเอียดการซื้อสินค้า ยอดใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนระยะเวลาในการซื้อ ฯลฯ ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยออกแบบโปรโมชันเด็ดโดนใจ หรือออกแบบ Loyalty Program อื่น ๆ เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าในส่วนของ CRM

ระบบ POS จำเป็นจริงหรือไม่ ?

หลากหลายธุรกิจไม่ว่าจะเป็น คาเฟ่ ร้านอาหาร ธุรกิจบิวตี้ อย่างร้านเพนต์เล็บ ร้านตัดผม ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจคาร์แคร์ไปจนถึง ธุรกิจค้าปลีกอีกมากมาย ก็ต่างไว้วางใจระบบ POS ให้มาช่วยจัดการทั้งในส่วนหน้าร้าน และหลังร้านในสะดวกมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่แบรนด์ดังระดับโลกมากมาย

Starbucks
ตัวระบบ POS ของ Starbuck เอง แท้จริงแล้วมีฟังก์ชันมากมายที่ช่วยให้การบริหารร้านให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ฟังก์ชันสำคัญอย่างหนึ่งเป็นเรื่องของการ ติดตามยอดขายแบบ Real-Time และการตัดสต็อก
Starbucks จะดูรายงานยอดขายภายใน 30 วัน พร้อมคำนวณผลกำไรที่ได้ควบคู่ไปกับการพิจารณาตัดสต็อก ที่แสดงผ่านจากระบบ POS เนื่องจากเครื่องดื่มต่าง ๆ ของ Starbucks มีวัตถุดิบหมุนเวียนอยู่ตลอดไม่ว่าจะเป็นนม และไซรัปมากมายหลายชนิด

ฟังก์ชันการตัดสต็อกที่แม่นยำของ POS สามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็วในทุก ๆ ครั้งที่ขายเครื่องดื่มออกไป จะช่วยให้ Starbucks สามารถติดตามได้ว่าควรสั่งสินค้าคงคลังจำนวนเท่าใด และปรับแต่งเมนูเครื่องดื่มเพื่อให้เหมาะสมกับสินค้าคงคลังได้มากยิ่งขึ้น

Burger King
แบรนด์เบอร์เกอร์ยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกาชื่นชอบความยืดหยุ่นของระบบ POS ที่สามารถปรับแต่งโซลูชันได้หลากหลาย เน้นในเรื่องความปลอดภัย สามารถตามติดวิเคราะห์การทำงานของแคชเชียร์แต่ละคน ให้ผู้จัดการร้านกำหนด ID ผู้ใช้ได้หลากหลาย พร้อมเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real-Time

KFC
KFC ใช้ระบบ POS ที่เน้นความสะดวก ถ่ายโอนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วภายใต้การคีย์ข้อมูลให้น้อยที่สุด โดยจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหน้าบ้าน และหลังบ้าน เมื่อลูกค้าทำการสั่งอาหาร พนักงานในครัวก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าควรจัดเตรียมอะไร ช่วยให้การดำเนินงานรวดเร็วไม่ติดขัด

Sephora
Sephora เป็นตัวอย่างสำคัญที่ประสบผลสำเร็จจากการทำการตลาดแบบดึงดูดใจ เมื่อลูกค้ามาที่หน้าร้าน Sephora จะใช้ระบบ POS ทำการเก็บข้อมูลการซื้อของลูกค้า หรือ Purchase History หลังจากนั้นจะนำข้อมูลส่วนนี้ไปทำการตลาดแบบ Personalized Marketing ต่อในช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือโปรโมชันที่เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือประเภทสินค้าที่ลูกค้าเคยซื้อไป เป็นต้น
นอกจากนี้ Sephora ยังเก็บข้อมูลยอดใช้จ่ายของลูกค้าในแต่ละคน แล้วลิงก์ไปสู่ระบบ CRM เพื่อแบ่ง Tier กลุ่มลูกค้าสมาชิกตามยอดการซื้อสินค้า เพื่อนำเสนอสิทธิพิเศษโดนใจเฉพาะ Tier นั้น ๆ ต่อไปในอนาคต

แบรนด์ระดับโลกต่างไว้ใจระบบ POS ! ดังนั้นถึงเวลาธุรกิจของคุณแล้วหรือยัง ?

มาติดปีกร้านของคุณให้ดำเนินงานอย่างลื่นไหลไม่ว่าจะเป็นหน้าบ้าน หรือหลังบ้านด้วยระบบ POS ที่แม่นยำทั้งในเรื่องของการขาย การจัดการข้อมูลต่าง ๆ ไปจนถึงระบบสต็อกสินค้า ช่วยให้ทุกการดำเนินการ ง่าย ! สะดวกรวดเร็ว พร้อมส่งมอบประสบการณ์พึงพอใจสูงสุดไปสู่ลูกค้าอย่างแท้จริง

มาติกา บุตตะโยธี

Creative Content Creator Associate

Posted: มกราคม 22, 2024

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Share
error: Content is protected !!